The Woman in the Window
(1944)
The Woman in the Window เล่าเรื่องของศาสตราจารย์ Richard Wanley (เล่นโดย Edward G. Robinson) ที่หลังจากไปสังสรรค์กับเพื่อนแล้วเดินผ่านรูปวาดของหญิงสาวคนหนึ่งในหน้าต่างร้านค้า ระหว่างที่ Richard เพ่งพิจารณารูปภาพอยู่นั้น เหมือนเวทมนต์ นางแบบในรูปวาดก็ปรากฏตัวขึ้นข้างหลังเขา
นางแบบ Alice (เล่นโดย Joan Bennett) ชวน Richard ไปที่อพาร์ทเม้นท์ของเธอ คุยกันได้ซักพัก Frank ที่เป็นคู่รักของ Alice ก็เข้ามาเห็น เกิดการทะเลาะกัน จนสุดท้าย Richard ฆ่า Frank เป็นการป้องกันตัว
Richard และ Alice วางแผนอำพรางคดีโดยการนำศพของ Frank ไปซ่อน แต่ก็พลาดทิ้งหลักฐานไว้มากมาย เมื่อตำรวจค่อย ๆ สืบสวน ตามพยานหลักฐานไปเรื่อย ๆ จน Richard มั่นใจว่าไม่รอดแน่ เขาจึงกลับไปที่บ้าน และกินยาเพื่อจบชีวิตตนเอง
ทันใดนั้นเขาก็สะดุ้งตื่น Richard ไม่ได้อยู่ที่บ้าน เขาอยู่ที่ห้องสมุดหลังจากไปสังสรรค์กับเพื่อน ผู้หญิงในหน้าต่าง ฆาตกรรม ตำรวจ ทุกอย่างนั้นเขาฝันไป…
ไม่รู้จะคิดยังไงกับตอนจบเหมือนกัน แต่โน้ตไว้นิดนึงว่าเนื้อเรื่องที่เราสรุปมาข้างบนมันคร่าว ๆ มาก ๆ และยังมีพล็อตที่น่าสนใจอีกเยอะ ถ้าใครไม่เคยดูเราแนะนำให้ดู
แต่ที่สรุปเนื้อเรื่องมาแค่นี้เพราะอยากพูดถึงตอนจบ
ในแง่นึงเราก็ไม่ได้ซีเรียสกับ trope แบบ “เรื่องทั้งหมดเป็นแค่ฝันร้าย” เหมือนกับที่เราไม่ได้ซีเรียสกับการจบหักมุมแบบอื่น ๆ อย่างใน The Usual Suspects เพราะส่วนใหญ่การจบหักมุมมันก็เป็นแค่เทคนิกการเล่าเรื่องให้สนุกขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีความหมายในเชิง narrative ก็ได้
แต่กับ The Woman in the Window ที่มีธีมเกี่ยวกับศีลธรรมอยู่ทั้งเรื่อง ทั้งตอนเริ่มเรื่องที่ Richard เลคเชอร์ถึงความสำคัญของเจตนาในการฆ่า พูดถึงความแตกต่างระหว่าง first degree และ second degree murder แล้วพอฆาตกรรมเกิดขึ้นในเรื่อง หนังก็ชวนคนดูมาตั้งคำถามถึงเจตนาของ Richard และ Alice ว่าที่ฆ่า Frank นั่นเป็นสิ่งที่ผิดรึเปล่า และผลที่ตามมามันถูกต้องหรือไม่
พอจบหักมุมแบบนั้นมันเลยลบล้างผลกรรมของตัวละครออกไปหมด เหมือนทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสมมติที่ Richard ยกมาเป็นตัวอย่างในห้องเรียน
ตอนจบแบบนี้อาจจะมีประโยชน์ในละครหรือซีรีส์ที่ต้องการให้ทุกอย่างกลับสู่ status quo (ถึงหลายครั้งจะไม่ถูกใจคนดูก็ตาม) แต่ในหนัง การกลับสู่ status quo ก่อนที่จะจบมันไม่ได้มาซึ่งประโยชน์อะไรนอกจากต้องการจบด้วยความบริสุทธิ์ของตัวละคร และความสบายใจของคนดู
ถึง The Woman in the Window จะจบด้วยการ undo เนื้อเรื่องทั้งหมด อย่างน้อยก็พอจะมีคำอธิบายตรรกะในฝันบ้างว่าตัวละครในฝันของ Richard ก็คือคนที่เขาเจอผ่านตาในวันนั้น เหมือนกับที่ Kaiser Soze เอาสิ่งรอบตัวมาแต่งเป็นเรื่องราว เป็นเหตุผลที่เรายกเอา The Usual Suspects มาเป็นตัวอย่าง
… คืออย่างน้อยก็มีความฉลาดนิดนึงแหละมั้ง