The Lady from Shanghai
(1947)
“It is difficult for love to last long. Therefore, one who loves passionately is cured of love, in the end.”
หนึ่งในองค์ประกอบหลักของ film noir คือความหวาดระแวงต่อความรัก การมองว่าอารมณ์โรแมนติกนั้นเป็นเพียงสิ่งเพ้อฝัน แนวคิดที่ว่ามนุษย์นั้นไม่ต้องการความสุข ต้องการแค่เพียงความสาแก่ใจ ไม่ว่าความสาแก่ใจนั้นจะมาจากเงิน จากอำนาจ หรือจากความพึงพอใจที่ได้เห็นคนอื่นทนทุกข์ทรมาน และตั้งแต่ที่ดูมา ไม่มี film noir เรื่องไหนใจร้ายกับโรแมนซ์ได้เท่า The Lady from Shanghai
ทุกครั้งที่ได้ยิน Arthur เรียกภรรยาของเขาว่า “lover” ด้วยสำเนียงเสียดสีเป็นต้น
แต่เสียดายที่คนดูอาจจะไม่ได้รับรู้ว่าตัวละครเหล่านี้ต้องการอะไรกันแน่ เพราะเนื้อเรื่องนั้นซับซ้อนจนถึงขั้นมั่วซั่วในบางเวลา พล็อตที่หักมุมแล้วหักมุมอีกจนไม่เหลือเวลาให้ทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวละครต่าง ๆ แล้วสุดท้ายคนดูก็ไม่มีทางได้รู้เลยว่าตัวละครมีแรงจูงใจอย่างงั้นจริง ๆ หรือฉากต่อไปจะหักมุมอีก
ตอนแรกเราก็นึกว่า ไม่ได้ดู film noir มานาน อาจจะไม่ชิน คงดูไม่รู้เรื่องเอง แต่รีวิวส่วนใหญ่ก็ดูจะจับใจความไม่ได้เหมือนกัน
แต่เสียงวิจารณ์เหล่านั้นก็บอกด้วยว่า สไตล์และโทนของหนังนั้นทำได้ดี ทำให้ The Lady from Shanghai เป็นหนังที่ดีถึงแม้เนื้อเรื่องจะสับสนวุ่นวาย เรื่องสไตล์ของหนังนั้นเราไม่เถียง หนังเรื่องนี้เป็นหนังของ Orson Welles เรื่องแรกที่ทำให้เราประทับใจใน cinematography อันโด่งดังของ Welles (ที่ขึ้นชื่อมาตั้งแต่ Citizen Kane) ทั้งฉากที่นางเอก Elsa (เล่นโดย Rita Hayworth) นอนร้องเพลงบนเรือ หรือฉากไคลแม็กซ์ในสวนสนุก ที่ถ่ายฉากยิงปืนในเขาวงกตกระจกได้ดีกว่าหนังสมัยใหม่หลายเรื่องด้วยซ้ำ
แต่ด้วยความที่เนื้อเรื่องมันน่าเวียนหัวจนทำให้ตัวละครไร้ความหมาย เราเลยมองว่า The Lady from Shanghai เป็น noir ที่ไม่เพอร์เฟ็กต์ เทียบชั้นหนังอย่าง Double Indemnity หรือ Sunset Boulevard ไม่ได้